เครื่องหมายการค้า

ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้า (สำหรับบุคลากร มรส.)
  • เงื่อนไขการได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  • การเตรียมเครื่องหมายการค้า
  • การระบุรายการสินค้า/บริการ
  • การตรวจค้นเครื่องหมายการค้าเบื้องต้นก่อนยืนคำขอ
  • เอกสารประกอบการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 

 

 
 
 
สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา
ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต
                                       —————————————————
          ผู้มีความประสงค์จะยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้ยื่นเอกสารที่สำนักงานบ่มเพาะธุรกิจและทรัพย์สินทางปัญญา  ชั้น 5 ห้อง 5-334 (อาคาร 5) โทร. 3302 หรือ 085-9822488 E-mail : bsic@rsu.ac.th
ติดต่อคุณณัฐวรรณ วาเรืองศรี (แก้ม)
ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้า (สำหรับบุคลากร มรส.)
  1. 1. ให้บุคลากรที่ประสงค์จะยื่นคำขอฯ กรุณาเตรียมข้อมูลรายละเอียด และส่งเป็นไฟล์รูปแบบ word, PDF มายัง E-mail: bsic@rsu.ac.th ท่านสามารถศึกษา ตัวอย่างการเขียนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ คำชี้แจงในการเตรียมคำขอ ได้ดังนี้ (ส่งไฟล์ Zip ให้ทางอีเมล์)
ใบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  • ชื่อเจ้าของเครื่องหมายการค้า
  • รูปเครื่องหมายการค้า
  • คำอ่านและแปล
  • จำพวก และรายการบริการ
เงื่อนไขการได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  1. เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะมุ่งหมายที่จะแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสินค้า/บริการที่ใช้เครื่องหมายนี้กับสินค้า/บริการของบุคคลอื่น ไม่ใช่เครื่องหมายที่บ่งบอกถึงลักษณะ หรือ คุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยตรง
  2. เป็นเครื่องหมายที่ไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่นไม่เป็นตราราชวงศ์ ตราแผ่นดิน เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย ฯลฯ
  3. ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้รับจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว
การเตรียมเครื่องหมาย
  • กรณีเป็นเครื่องหมายคำ ข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข กลุ่มของสี หรือรูปภาพ ให้จัดเตรียมรูปภาพเครื่องหมายที่เห็นรายละเอียดเครื่องหมายอย่างชัดเจน โดยขนาดของภาพ ไม่ควรเกิน 5 X 5 เซนติเมตร หากเกินจะมีค่าธรรมเนียมในส่วนที่เกิน ในอัตรา เซนติเมตรละ 200 บาท ต่อด้าน
  • กรณีเป็นเครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ ให้จัดเตรียมรูปภาพที่แสดงถึงด้านกว้าง ด้านยาว ด้านลึกของเครื่องหมายอย่างชัดเจน โดยอาจแสดงมาในรูปเดียวหรือมากกว่านั้นก็ได้ทั้งนี้รวมแล้วไม่เกิน 6 รูป
  • กรณีเป็นเครื่องหมายกลุ่มของสีให้ระบุคำบรรยายลักษณะของกลุ่มของสีลงในแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนด้วย
  • กรณีเป็นเครื่องหมายเสียง จัดเตรียมไฟล์เสียงอิเล็กทรอนิกส์ในสกุล wav,mp3 พร้อมบรรยายลักษณะของเครื่องหมายเสียงในแบบคำขอจดทะเบียนให้ชัดเจน
  • กรณีเครื่องหมายประกอบด้วยคำในภาษาต่างประเทศให้ระบุคำอ่านและคำแปลเป็นภาษาไทยด้วย และในกรณีเป็นภาษาจีนให้ระบุคำอ่านเป็นภาษาไทยทั้งสำเนียงจีนกลางและจีนแต้จิ๋วพร้อมคำแปลภาษาไทย
การระบุรายการสินค้า/บริการ 
ให้ระบุจำพวกและรายการสินค้าและบริการที่จะนำไปใช้กับเครื่องหมายที่จะยื่นขอจดทะเบียนให้ชัดเจนและถูกต้องตามจำพวกสินค้าและบริการสากล (NICE Classification)
ทั้งนี้สามารถดูตัวอย่างข้อมูลจำพวกและรายการสินค้า/บริการได้ที่ tmsearch.ipthailand.go.th
การตรวจค้นเครื่องหมายการค้าเบื้องต้นก่อนยื่นคำขอ
สามารถดำเนินการตรวจค้นเบื้องต้นได้ที่ https://tmonline.ipthailand.go.th/DipInternetWeb/trw/01/trw00q001/index.jsf
แบบฟอร์มและเอกสารประกอบการยื่นคำขอ
  • ดาวน์โหลดแบบคำขอ (ก.01) ได้ที่  โดยเอกสารประกอบการยื่นคำขอ คือ บัตรประจำตัวประชาชน(กรณีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา) /สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล(กรณีเจ้าของเป็นนิติบุคคล)  ในกรณีมีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ต้องแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประตัวประชาชน/สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของตัวแทนมาพร้อมคำขอด้วย
  • กรณีเป็นเครื่องหมายรับรอง ให้แนบรายละเอียดข้อบังคับการใช้เครื่องหมายรับรองด้วย
  • กรณีเป็นเครื่องหมายร่วม ให้แนบรายละเอียดแสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้ร่วมใช้
  • กรณีระบุข้อมูลในแบบคำขอ ก.01 ได้ไม่ครบถ้วน ระบุข้อมูลเพิ่มเติมในใบต่อ (ก.11)
 
 เอกสารประกอบการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
1        บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการอกให้ (สำเนา 1 ฉบับ) กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา
2        ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง (สำเนา 1 ฉบับ) กรณีเป็นบุคคลสัญชาติต่างประเทศ เว้นแต่จะได้ส่งเอกสารหนังสือตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจ ตามข้อ 4
3        หนังสือรับรองนิติบุคคลที่ต้องออกให้ไม่เกิน 6 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน (ฉบับจริง 1 ฉบับ) กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เว้นแต่ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้ส่งเอกสารหนังสือตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจ ตามข้อ 4 โดยมีการระบุข้อความรับรองการเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศไว้ด้วยแล้ว ไม่ต้องส่งหนังสือรับรองนิติบุคคลก็ได้
4        หนังสือตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจ และบัตรประจำตัวของตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจ (สำเนา 1 ฉบับ) ติดอาการแสตมป์ 30 บาทต่อตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจ 1 คน
5        คำขอจดทะเบียน พร้อมติดรูปเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียน ขนาด 5×5 เซนติเมตร (ฉบับจริง 1 ฉบับ) กรณีขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เครื่องหมายจะต้องแสดงด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึก โดยจะแสดงในรูปเดียวกันหรือไม่ก็ได้
6        คำบรรยายลักษณะกลุ่มของสี ในกรณีขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นกลุ่มของสี (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ให้ผู้ขอจดทะเบียนบรรยายอย่างชัดเจนว่ากลุ่มของสีที่ขอจดทะเบียนประกอบด้วยสีใดบ้าง และแต่ละสีจัดวางหรือจัดเรียงอยู่ในลักษณะใด โดยระบุในใบต่อ (แบบ ก.11)
7        คำพรรณนารูปร่างหรือรูปทรง ในกรณีขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ (ฉบับจริง 1 ฉบับ) ผู้ขอจะมีหรือไม่ก็ได้
8        หนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของลายมือชื่อ (ฉบับจริง 1 ฉบับ) กรณีเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนเป็นลายมือชื่อ
9        หนังสือให้ความยินยอมที่จะใช้ภาพบุคคลเป็นเครื่องหมายจากบุคคลนั้น (ฉบับจริง 1 ฉบับ) กรณีเครื่องหมายที่ขอจดทะบียนเป็นภาพบุคคล/กรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วต้องได้รับความยินยอมจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น(ถ้ามี)
10      บัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ของผู้ให้ความยินยอม (สำเนา 1 ฉบับ) กรณีเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนเป็นภาพของบุคคล
11      ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรอง (ฉบับจริง 1 ฉบับ) กรณีขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายรับรอง
12      บัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิใช้ และเอกสารหลักฐานหรือคำชี้แจงที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายร่วม (ฉบับจริง 1 ฉบับ) กรณีขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายร่วม
13      คำขอถือสิทธิ (แบบ ก.10) พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอถือสิทธิ (ฉบับจริง 1 ฉบับ) กรณีขอใช้สิทธิย้อนหลังตามมาตรา 28 หรือ 28ทวิ/ในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถส่งเอกสารหลักฐานประกอบคำขอใช้สิทธิย้อนหลังตามมาตรา 28 หรือ 28 ทวิ มาพร้อมกับคำขอใช้สิทธิ (แบบ ก.10) ได้ ผู้ขอสามารถขอผ่อนผันการส่งเอกสารหลักฐานดังกล่าว โดยให้ยื่นหนังสือขอผ่อนผัน (แบบ ก.19) มาพร้อมกับคำขอใช้สิทธิ(แบบ ก.10)
หมายเหตุ
– ข้อมูลและการแจ้งเตือนต่างๆ ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ จะส่งให้ทาง e-mail ทุกครั้ง
 
เครดิตข้อมูล : กรมทรัพย์สินทางปัญญา